BACK TO EXPLORE

Eco-Fashion ในวันที่ “แฟชั่น” มีความยั่งยืน

Eco-Fashion ในวันที่ “แฟชั่น” มีความยั่งยืน
เมื่อไอเดียของคำว่า Ecology มาอยู่ข้างกันกับโลกของแฟชั่น

ทุกๆ ครั้งที่ได้ยินคำว่า แฟชั่น ความเข้าใจมักจะอยู่คู่กับการเปลี่ยนผันตามกาลเวลา มีเทรนด์เก่าใหม่หมุนเวียนไปมากมาย แต่ปัจจุบันนี้เมื่อไอเดียของคำว่า Ecology มาอยู่ข้างกันกับโลกของแฟชั่น ความยั่งยืนในระบบนิเวศเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนี้จึงเกิดขึ้น ทำให้เราอยากเก็บมาเล่าให้ฟังในบทความนี้กันว่า โลกของ Eco-Fashion ในบ้านเราทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่แง่มุมของวัตถุดิบจากธรรมชาติ ไปจนถึงระบบที่หล่อเลี้ยงให้ชุมชนโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน เรามีผลงานจากดีไซเนอร์รุ่นใหม่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง


The Heart of Northern-East Indigo



Mann Craft คือแบรนด์ที่อยู่คู่กับการเจริญเติบโตของ Thai Indigo หรือกรรมวิธีการย้อมสีครามในบ้านเรา ผลงานที่มาจากการศึกษาค้นคว้า และร่วมมือกันกับภาคอีสาน ที่จังหวัดสกลนคร ชุมชนย้อมครามที่มีมาแต่โบราณ เป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นเมื่อถูกพัฒนาโดยดีไซเนอร์ที่เข้าใจในวัตถุดิบตัวเองดี ช่วยทำให้อุตสาหกรรมระดับท้องถิ่นยกระดับสู่ตลาดส่งออก และเป็นผลผลิตจากธรรมชาติแท้ๆ ทำออกมาเป็นผลงานที่ต่างชาติให้ความสำคัญ เกิดเป็นหลักไมล์ที่นอกจากมียักษ์ใหญ่อย่างญี่ปุ่นเป็นต้นแบบผ้าย้อมครามในโลกแล้ว ทุกวันนี้ก็มีประเทศไทยเรานี่ล่ะที่ถือเป็นหลักแหล่งอีกแห่งหนึ่ง




Embrace the Recycling Paper



จากโจทย์ที่ท้าทายสู่ผลงานแบรนด์สัญชาติไทยที่ต่างชาติยอมรับ การใช้เศษกระดาษรีไซเคิล หรือ ที่หลายคนให้ค่าว่าเป็น ขยะทั่วๆ ไปมาใช้งาน เมื่อผ่าน Mindset ที่เข้าใจถึงที่มาที่ไปในวัตถุดิบก็สามารถกลายเปลี่ยนเป็น เครื่องประดับชิ้นหรู ที่อยู่คู่กันกับลุคไฮแฟชั่นได้ไม่ยาก สิ่งที่เราชอบมากที่สุดเกี่ยวกับแบรนด์นี้ก็คงหนีไม่พ้นการเลือกจับเอาวัสดุที่คนมองข้ามและเห็นได้ในชีวิตประจำวันมาใช้งาน มิหนำซ้ำคือเป็นวัสดุที่เตรียมตัวถูกย่อยสลาย บรรดากระดาษจากโรงพิมพ์หมึก คงสถานะไอเดียของความเป็น Eco-Fashion อย่างชัดเจนในแง่การใช้กรรมวิธีที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ แม้จะเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่อายุอาจจะยังไม่เยอะเท่ากับแบรนด์เครื่องประดับคนไทยแบรนด์อื่นๆ แต่รางวัลที่การันตีจากหลายเวทีคงทำให้เราเชื่อได้เลยว่า Basic Teeory จะเป็นหนึ่งชื่อที่ได้ยินบ่อยขึ้นแน่นอน




Step by Step with Traditional Patterns



มีแบรนด์ของดีไซเนอร์ไทยรุ่นใหม่มากมาย ที่ย้อนกลับไปมองถึงต้นตอภูมิปัญญาของคนพื้นบ้าน และช่วยนำเสนอใหม่อีกครั้งในมุมมองแบบคนรุ่นใหม่ สำหรับ Larinn by Double P ก็เช่นกัน แบรนด์สองพี่น้องที่ร่วมกันสร้างแบรนด์ขึ้นมา โดยมีไอเดียคือการนำเอาลวดลายของผ้าไทยโบราณมาอยู่บนคัตติ้ง เครื่องแต่งกายสไตล์ร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน ที่เราสนใจเป็นพิเศษคือ Collection รองเท้าของแบรนด์ที่ทำออกมาไม่หยุดหย่อน ได้เห็นลายผ้าไทยที่เคยคุ้นตาเวลาไปเที่ยวภาคเหนือและภาคอีสานในอดีตอีกครั้งบนรองเท้าที่ดูจับคู่กับลุคต่างๆ ของผู้หญิงได้ไม่ยาก นี่คือความเคลื่อนไหวที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นเชื่อมต่อกับแฟชั่นในยุคปัจจุบัน โดยฝีมือของคนหนุ่มสาวยุคใหม่




A Crossover Between Continents



ส่วนผสมระหว่างแบรนด์แฟชั่นที่เบสอยู่ประเทศออสเตรเลีย พบกันกับ ดีไซเนอร์และวิถีงานถักทอมือของชาวไทยในภาคเหนือคือ Seeker X Retriever ที่โลกแฟชั่นนานาชาติต่างให้ความสนใจ ด้วยจิตใจของนักออกแบบรุ่นใหม่ พกพาเอาความรู้ความเข้าใจและที่สำคัญที่สุดคงจะเป็นความชอบส่วนตัว ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้แบรนด์ทำเสื้อผ้าออกมาได้เข้าใกล้กับไลฟ์สไตล์คนหนุ่มสาว คงไม่แปลกใจถ้าเราจะได้เห็นเสื้อผ้าที่มีเนื้อสัมผัสของการทอมือท้องถิ่น เดินอยู่บนท้องถนนมากขึ้นด้วยฝีมือของแบรนด์นี้ แม้การก่อตั้งของแบรนด์จะเกิดขึ้นอยู่ไกลข้ามมหาสมุทร แต่ลองดูจาก Lookbook ที่เรานำมาฝากในด้านล่างนี้ คงเห็นได้เลยว่า ผ้าทอมือของคนไทยโบราณไม่ได้ดูเชยหรือล้าสมัยไปเลยซักนิดเดียว




จากภูมิภาคต่างๆ มาสู่การออกแบบในหลากหลายสไตล์ต่างกันไป แบรนด์ทั้งหมดที่เราหยิบมาพูดถึงในครั้งนี้ ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่กำลังปล่อยผลงานออกมาในตอนนี้เท่านั้น มาร่วมสัมผัสกับผลงานจากนานาแบรนด์ไทยดีไซเนอร์ที่มีไอเดียของความยั่งยืนในแบบ Eco-Fashion ได้แล้ววันนี้ที่ สยามดิสคัฟเวอรี่ ชั้น 4 โซน Ecotopia

YOU MAY ALSO LIKE